ฟ้าใส ปวีณสุดา เปิดใจกว่าจะมีวันนี้ สู้เต็มที่เพื่อ Miss Universe (คลิป)


ให้คะแนน


แชร์

แต่ในปี 2017 พอเราไปเจอ พี่มารีญา (มารีญา พูลเลิศลาภ) แล้วพี่มารีญาสูงกว่า พี่มารีญาเรียนจบโทด้วย แล้วมีอะไรหลายๆ อย่างที่อีกขั้นนึง ซึ่งเหนือกว่าเรา ในปีนั้นมันก็เลยกดดันเรา เพราะว่าเราอยากได้มาก แล้วเราพยายามมาก แต่ว่ากลายเป็นว่าแล้วจุดเด่นของเราคืออะไร จุดดีของเราคืออะไร เราจะชนะคนอื่นโดยเฉพาะพี่มารีญายังไง

แต่ในปีนั้นคือ เราหาไม่เจอ คือหนูเข้าใจเลยว่าทำไมปีนั้นหนูไม่ได้ชนะ แล้วก่อนที่หนูจะกลับมาในครั้งนี้ คือมันก็ท้อเหมือนกันนะ ก่อนที่จะกลับมันก็แบบเราเคยเฟลมาแล้ว ถ้าเกิดคราวนี้เราเฟลอีกหรือว่าเราไม่ได้เท่าเดิมแล้วมันจะรู้สึกยังไง แล้วเราจะได้จริงเหรอ เพราะว่ามันก็ไม่มีอะไรการันตีด้วยว่าเราจะได้ในครั้งนี้

แล้วมันก่อนที่จะกลับมาก็คืออยากเป็นนางงามจริงไหม แล้วเราไม่มีอย่างอื่นอยากที่จะทำเลยเหรอ นอกจากการเป็นนางงาม แล้วถ้าเกิดอยากเป็นนางงามจริง คืออยากประกวดเวทีไหน ระหว่างมิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์กับมิสไทยแลนด์เวิลด์ แต่คำตอบของหนูไม่ว่าจะยังไง ถ้าจะประกวดใหม่ก็คือจะต้องเป็นมิสยูนิเวิร์สเท่านั้น และมันต้องเป็นตัวแทนประเทศไทยในการประกวดมิสยูนิเวิร์สเท่านั้น

ถ้าเกิดอันนั้นคือเป้าหมายของหนู หนูก็มองเลยว่า TPN มาประกาศด้วยว่าเค้าให้โอกาสรองกลับมาประกวดใหม่ ในเมื่อ TPN เค้าให้โอกาสเรา แล้วถ้าเกิดเราไม่คว้าโอกาส เราจะไม่รู้สึกเสียดายเหรอว่าเราไม่ได้คว้าโอกาสนั้นไว้ ตอนที่เรามีโอกาส ตอนที่อายุเรายังไม่เกิน หนูก็เลยไม่ได้หมายความว่าไม่ได้กลัว ไม่ได้หมายความว่าคือมันมั่นใจว่าเราจะได้

แต่ว่าถึงแม้ว่าเราจะกลัว แต่ว่าเรากลัวเสียดายมากกว่า เราก็เลยตัดสินใจที่จะประกวดใหม่ แล้วคราวนี้เราก็ตั้งใจว่าเราอยากจะเอ็นจอยกับทุกวัน ทุกกิจกรรมที่ทำ แต่ก่อนที่เราจะกลับไปคือเราก็ต้องมาคุยกับตัวเองด้วยว่า แล้วสรุปข้อดีของเราคืออะไร

ซึ่งแน่นอนหลายๆ คนอาจจะคิดว่า สมมติหนูเฟรนลี่ อย่างคนนู้น คิดบวกอย่างคนนี้ อะไรอย่างโน้น ซึ่งมันอาจจะมองว่าก็คือข้อดีของเราคนอื่นก็มี มันก็ไม่ใช่ข้อดีของเราหนิ แต่จริงๆ มันใช้เวลานานมากกว่าหนูจะเข้าใจว่า ข้อดีต่างๆ ที่เรามองว่าเหมือนคนอื่น รวมกับประสบการณ์ของเราแล้ว มันทำให้เราเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งคนอื่นจะไม่มีใครที่เหมือนกับเราเลย

อันนี้ก็อยากจะฝากทุกคนด้วยที่เคยผ่านโมเมนต์นั้นมา คือเข้าใจว่ามันแบบท้อ มันแบบถามคนอื่นว่า ยูเรามีดีอะไรบ้าง แต่ถ้าเราให้คนอื่นมาบอกว่าเรามีดีอะไร โดยที่เราไม่เข้าใจและไม่ค้นหามันเองอ่ะ มันไม่มีวันที่เราจะภูมิใจในตัวของเราเลย”

วัยเด็กของเด็กหญิงปวีณสุดา โตมายังไง โตที่เมืองไทยหรือว่าเมืองนอก?

“หนูเกิดที่เมืองไทยค่ะ กรุงเทพมหานคร แล้วก็พอเรียนจบ ป.2 ก็ย้ายไปอยู่ที่แคนาดา จนกระทั่งเรียนจบปริญญาตรี ก็ย้ายกลับมาที่นี่ในปี 2016 ค่ะ”

ช่วงเวลาตอนนั้น เราป.2 ก็เริ่มโตแล้ว?

“ป.2 ก็ 7 ขวบครึ่ง ประมาณนี้ แล้วก็ค่อยย้ายไป”

ช่วงเวลาที่พลิกผันของเด็กคนนึง วัยเด็กที่ต้องไปเริ่มใหม่?

“สำหรับหนูคือพลิกมาก เพราะมันเหมือนว่าเราเติบโตมากับภาษาไทย เราเติบโตมากับวัฒนธรรมที่นี่คืออะไร เหมือนมีเพื่อนกลุ่มนึง คือทุกอย่างมันเหมือนคุ้นเคยไปแล้ว แต่พอเราไปอยู่ในสถานการณ์อีกสถานการณ์หนึ่ง ซึ่งมันเป็นบ้านใหม่ โรงเรียนใหม่ เพื่อนใหม่ ภาษาใหม่ วัฒนธรรมใหม่ คืออะไรก็ใหม่ๆ หมดเลย

เราก็เหมือนเด็กคนนึงที่เราก็อยากจะมีเพื่อนที่เล่นด้วย แต่ตอนนั้นด้วยการที่หนูยังแบบสื่อสารภาษาอังกฤษไม่คล่อง แต่หนูก็อยากจะสื่อสาร ก็พยายามสื่อสารอย่างเต็มที่ด้วยการที่แบบรู้ศัพท์แค่ไหนก็ใช้เท่านั้น หนูจำได้ว่าหนูเดินเข้าไปหาเพื่อนที่เล่นอยู่บนสนามเด็กเล่นนะคะ แล้วบอกว่า Hey สบายดี You แล้วเพื่อนหนูก็หยุดมอง”

อะไรนะ สวัสดี You?

“สบายดี You คือแบบหนูไม่ได้แบบ Hey How are you แบบ สบายดี You แล้วเพื่อนเขาก็เหมือนเค้าก็หยุด แล้วก็แบบคนนี้พูดภาษาอะไรอ่ะ แบบเราไม่เข้าใจ แล้วเค้าก็เหมือนตีตัวออกห่างไป เพราะว่าเราไม่เหมือนกับเค้า ทั้งรูปร่างหน้าตา ภาษา อะไรก็คือไม่เหมือนกับเค้าเลย แล้วคือหนูจำไม่ได้หรอกว่าหนูรู้สึกเฟลหรือรู้สึกอะไรแค่ไหน แต่เด็กมันก็ต้องรู้สึกนิดนึงว่าทำไมเพื่อนไม่เล่นกับเราด้วย

แต่สิ่งที่หนูจำได้คือหนูอ่ะ เดินเข้าไปในโรงเรียน แล้วมันก็จะมีรองเท้าที่เค้าต้องเปลี่ยนก่อนเข้าห้องเรียนวางอยู่ เพื่อนๆ เค้าจะเปลี่ยนก่อนที่จะเข้าไปในห้องใช่มั้ยคะ แล้วรองเท้ามันกระจัดกระจาย ตอนนั้นคือหนูก็เหมือนไม่มีอะไรทำ เราก็เลยแบบมาวางไว้แบบเป็นคู่ๆ

พอดีครูเค้าก็มาเห็น เค้าก็บอกว่า Hey, What are you doing? แบบทำไมไม่ไปเล่นข้างนอก เธอทำอะไรอยู่ แต่หนูก็ไม่ต้องพูดอะไร หนูก็คิดว่าครูเข้าใจมั้ง ซึ่งหนูก็โชคดีที่เค้าเข้าใจ เค้าก็เลยเรียกไปช่วยงานเค้า หนูก็บอก ได้ คือหนูก็ต้องขอบคุณครูด้วยที่ตอนนั้นครูก็มาช่วย

มันก็อาจจะเป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้เวลาที่หนูกลับบ้าน ซึ่งอันนี้ก็คือวัฒนธรรมแตกต่างเหมือนกันนะคะ กลับบ้านอยู่ที่นู่นคือเหมือนเด็กเค้าจะเก็บเงียบอยู่ในบ้าน เล่นวิดีโอเกม ดูทีวี หรืออะไรก็ตาม

แต่ที่เมืองไทยหนูคุ้นเคยกับการที่เราออกไปข้างนอก แล้วก็ปั่นจักรยานหรือมาตีแบด เล่นฟุตบอลหน้าบ้าน แต่คือที่นู่นไม่มีเลย มันก็เลย ตั้งแต่เด็กหนูก็ติดรายการทีวีด้วย แต่ว่าในส่วนหนึ่งมันก็ดีตรงที่ว่าเราพัฒนาภาษาอังกฤษได้เร็วขึ้นค่ะ”

เราอยู่กับความรู้สึกแบบนี้ไปนานแค่ไหน กว่าจะปรับตัวได้?

“หนูคิดว่าหนูเพิ่งมาเริ่มโอเคกับภาษาอังกฤษเลย ก็น่าจะไม่ ป.5 ก็ ป.6 นะคะ แต่ว่าหนูจำได้ว่าตอนนั้นคือ มันจะมีช่วงหนึ่งที่หนูไปเดย์แคร์เหมือนกัน แล้วหนูจำได้ว่าเวลาที่เด็กใหม่เข้ามา หนูก็จะเข้าใจความรู้สึกของเค้า หนูก็จะเป็นคนแรกที่แบบยื่นมือไปเลยว่า Hey how are you? แล้วหนูก็จะพาเค้าทัวร์ว่านี่มีอย่างงี้ๆ แล้วก็จะอธิบายให้เค้า

เพราะว่าหนูก็เข้าใจความรู้สึกว่าเป็นเด็กใหม่ แล้วก็ไม่มีใครที่ยื่นมือมาแนะนำ แล้วก็มาโชว์เค้า ก็เลยเหมือนแบบเราก็ช่วยเพื่อนในด้านนี้เหมือนกัน แต่ว่ามันก็มีหลายๆ อย่างแหละ หลายๆ เหตุการณ์ที่เราก็นึกว่าคนนี้เป็นเพื่อนกับเรา เพราะว่าเค้าก็ยิ้มกับเรา

แต่สุดท้ายแล้ว ลับหลังเค้าไปนินทาเรา มันก็รู้สึกเจ็บเหมือนกัน หนูก็เลยรู้สึกว่าแบบประสบการณ์แรกๆ ที่เราเจออ่ะ เป็นอะไรที่เจ็บที่สุด แต่ว่าหลังจากนั้นมันก็เหมือนกับครั้งแรกเจ็บสุดแล้ว ครั้งที่สองก็เริ่มชิน แต่มันก็ไม่ชินแบบสบายใจ พี่เข้าใจมั้ย”

ผ่านมาได้ยังไง ในความรู้สึก เวลาเราไปโรงเรียน แล้วไม่มีเพื่อน?

“คือหนูก็มองว่า เรื่องเพื่อนสำคัญจริง คือหนูโชคดีที่หนูกลับบ้านไปก็จะมีคุณแม่ด้วยที่อยู่ แล้วก็คุณพ่อก็จะคุยตลอดถึงแม้ว่าคุณพ่อจะทำงานที่คูเวต และก็จะมีตารางคุยตลอดเลย จะมีจำได้อยู่ วันอังคาร พฤหัส เสาร์ อาทิตย์ และก็ทุกวันศุกร์พ่อก็จะเขียนจดหมายมาให้ มันก็เลยเป็นอะไรที่เหมือน ทำให้หนูรู้สึกแบบอย่างน้อยก็กลับมาก็ยังมีคนที่รักเรา แล้วก็คุยกับเรา

แล้วหนูก็จะติดทีวีด้วย อะไรแบบนี้ ติดละครไทยด้วยค่ะ ที่อยู่แคนาดา แต่หนูมองว่าสิ่งที่อาจจะ คือช่วงเด็กๆ อ่ะ มันก็ปรับแล้วก็อาจจะไม่ได้คิดอะไรมาก เพราะถ้าเราอยู่ในที่ที่หนึ่ง แล้วมีคนคุยกับเรา เราก็โอเค แต่ตอนที่เราโตขึ้นมาในวัยรุ่นคือมันก็เป็นอะไรที่เราก็อยากจะอยู่ในกลุ่มหนึ่ง

เราก็ไม่อยากจะรู้สึกโดดเดี่ยวเนอะ แล้วตอนนั้นก็เหมือน ตอนนั้นที่แคนาดาเค้าจะมีแฟนกันไปหมดเลย แล้วหนูก็เป็นคนที่ไม่มีแฟนด้วย แล้วก็เหมือนคุยกันไม่ค่อยรู้เรื่อง แล้วมันก็จะแบ่งกลุ่มป๊อปปูล่าร์ คือเป็นเชียร์ลีดเดอร์ คือเป็นคนที่ทุกคนเค้าอยากจะรู้จัก กับกลุ่มที่เป็นแบบเนิร์ดๆ หน่อย ซึ่งหนูก็จะไปอยู่ในกลุ่มนั้น หนูก็จะติดกับหนังสือก็อยู่คนเดียว ติดหนังสือก็ปกติของหนู”

ฟ้าใสก็เป็นอย่างนี้จนช่วงวัยรุ่นเลยเหรอ?

“ใช่ แต่ช่วงวัยรุ่นหนูจะบอกว่า หนูเข้าใจนะ เวลาที่เราอยากจะเข้ากลุ่มมากๆ เราพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเอง เราพร้อมที่จะไม่เป็นตัวของตัวเอง เพื่อให้เข้ากลุ่มนั้น หนูก็เคยผ่านประสบการณ์แบบนั้นมา แต่สำหรับหนูอ่ะ หนูไม่เคยคิด มันเหมือนตั้งแต่เด็กมันเหมือนอยู่คนเดียวมั้ง มันก็เลยแบบเราคือตอนนั้นมันไม่จำเป็นที่จะต้องเข้ากลุ่ม แล้วเหมือนตอนนั้นก็คือมีเพื่อนอยู่ด้วย ที่เค้าก็เป็นคนที่ติดหนังสือเหมือนกัน ก็เหมือนเราติวหนังสือได้คะแนนดีกันไป คู่กัน”

แล้วจนช่วงจบปริญญาตรี ก็อยู่ในเรื่องราวแบบนั้น?
“ไม่ คือเวลาที่เข้ามหาวิทยาลัยเป็นอะไรที่มันก็โอเค ก็มีเพื่อนอยู่ คือหนูเหมือนว่าจะแยกกลุ่มเพื่อนมากกว่า เพราะว่าที่เรียนแต่ละคณะ ในแต่ละวิชาก็จะมี หนูไม่รู้ว่าที่นี่กับแคนาดาจะเหมือนกันหรือเปล่า แต่ว่าเวลาที่เข้าคลาสนึง ก็จะมีเพื่อนกลุ่มนึง เข้าคลาสอีกอันนึง ถ้าไม่มีเพื่อนกลุ่มนั้นก็ต้องมีเพื่อนอีกกลุ่มใหม่ ก็โอเคขึ้น

หนูก็ไม่ได้แบบปาร์ตี้ อันนี้ก็ส่วนหนึ่ง เข้ามหาวิทยาลัย เค้าก็แบบยูไม่เคยดื่มแอลกอฮอล์เหรอหรืออะไร หนูก็บอก ก็ไม่นะ เพราะว่าฉันอายุไม่ถึง 18 เค้าก็เลยจัดไป เธออายุ 18 เมื่อไหร่ เดี๋ยวฉันจะพาเข้า มันก็เป็นอะไรที่พอหนูดื่มครั้งแรกอายุ 18 มันขมอ่ะ แล้วหนูก็ไม่ชอบ มันก็เลยเหมือนไม่ได้เข้ากลุ่มอีก

แต่พอเข้ามหาวิทยาลัยแล้วมันโชคดีตรงที่ว่าเค้าไม่ได้ซีเรียสมาก เค้าก็แบบยูไม่ชอบ ถ้าเกิดยูจะเข้าไปฟังเพลงหรืออะไรแบบนี้ ดื่มน้ำ ดื่มอะไรก็แล้วแต่ ก็แบบสร้างสรรค์ หนูเหมือนแบบเป็นคนที่ชอบอยู่ที่บ้านมากกว่า”

คุณพ่อคุณแม่ เป็นคนที่อยู่กับเรามาตลอด เห็นทั้งช่วงเวลาที่เราผิดหวัง หรือช่วงเวลาที่มันแย่ๆ ของเรา ท่านจะซัพพอร์ตเรายังไงบ้าง?

“คือคุณพ่อ จริงๆ คุณพ่ออยู่ต่างประเทศบ่อย แต่ว่าเป็นคนที่สามารถให้เวลากับเรา อันนี้คือสิ่งที่หนูมองว่า ล้ำค่ามากๆ ถึงแม้ว่าคนคนนึงจะอยู่กับเรา ถ้าเขาไม่ให้เวลามานั่งคุยกับเราเลย หนูคิดว่ามันจะมีความแตกต่างกัน มันเหมือนว่าเราบอกคุณว่าเรารักคุณ แต่คุณไม่รู้สึกว่าเรารัก

ซึ่งหนูโชคดีว่าหนูได้ทั้งสิ่งที่พ่อบอกมาและความรู้สึกนั้นทำให้หนูไม่ว่าจะเจออะไรก็ตามหนูก็จะบอกพ่อตลอด มีปัญหา สมมติคะแนนนี้ไม่ดี พ่อก็จะบอกว่า มันคะแนนดีมาก คือพ่อเป็นอะไรที่สำหรับหนูคือที่สุด แล้วพี่ก็เห็นในการประกวดครั้งนี้ด้วยว่า ไม่ว่าจะที่ไหนพ่อก็จะไปทุกๆ ที่”

พ่อยืนยิ้ม ลูกใส่สายสะพายด้วย?

“ใช่”

พ่อบอกอะไรเราบ้างที่เราได้มงมิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์?

“โอ้โห จริงๆ พ่อบอกว่า คือก่อนที่หนูจะไปเจอพ่อ มันก็แบบสักพักนึงเหมือนกัน แต่ว่าช่วงแรกๆ คือแม่ก็กระซิบว่า พ่อยูร้องไห้ด้วยนะ น้ำตาคลอ ร้องไห้เลยนะ แต่พอไปเจอ คือกอดแล้วแบบ I’m so proud of you คือพ่อภูมิใจมากๆ แล้วพ่อก็ดีใจ แล้วพ่อก็บอกว่า เนี่ย คือเราเห็นความพยายามของคุณ ตั้งแต่ตอนที่หนูอยู่แคนาดาแล้วว่า หนูตั้งใจมากแค่ไหนเพื่อจะได้เกียรตินิยม และตอนนี้คือมันก็เป็นวันของหนู

แล้วพ่อก็ดีใจมากๆ แล้วก็พ่อก็บอกว่าในครั้งนี้ที่มาประกวด คือดีใจที่พ่ออยู่ที่นี่ตั้งแต่แรกจนจบ จริงๆ พ่อหนูมีไฟลต์บินที่จะกลับ แต่พ่อบอกว่าพ่อจะอยู่ช่วยจัดการอะไรให้มันเข้าที่เข้าทางหน่อยสักประมาณเดือนนึง เพราะว่าหนูจะต้องมีย้ายไปอยู่ที่พักประจำตำแหน่งด้วย พ่อก็จะช่วยจัดการให้เรียบร้อยก่อนค่อยกลับ”

พ่อกับแม่เป็นทุกอย่างจริงๆ?

“ใช่ค่ะ”

อยากบอกอะไรกับตัวเอง?

“จะบอกว่าวันที่เธอฝัน วันที่เธอคิดไว้อ่ะ มันจริงแล้ว คือต้องขอบคุณตัวเองที่ถึงแม้ว่าจะเฟล ถึงแม้ว่าจะท้อ ถึงแม้มันก็มีแบบเหนื่อย แล้วก็เสียน้ำตามาเยอะ เราไม่มั่นใจในตัวเองมากแค่ไหน แต่เรากล้าที่จะลุกขึ้นมา แล้วก็มุ่งมั่นตลอดเวลากับเป้าหมายนี้ จนในวันนี้เราก็ประสบความสำเร็จแล้ว ก็ขอบคุณที่กล้าจะลุกขึ้นมาสู้ใหม่อีกครั้งค่ะ”.

ที่มา : ข่าวไทยรัฐออนไลน์ – ข่าวบันเทิง
ขอขอบคุณ : ข่าวไทยรัฐออนไลน์ – ข่าวบันเทิง