พลัสเตอร์ เรียกร้องอย่าปัดตกสมรสเท่าเทียม ชี้มีผลโดยตรง อาจจะขอแฟนแต่งงาน


ให้คะแนน


แชร์

พลัสเตอร์ พรพิพัฒน์ เรียกร้องอย่าปัดตกสมรสเท่าเทียม ชี้มีผลโดยตรง อาจจะขอแฟนแต่งงาน

เกาะติดข่าว กดติดตาม ข่าวสด

พลัสเตอร์ / หลัง ครม. ไฟเขียว ร่าง “พ.ร.บ.คู่ชีวิต” เปิดทางคู่รักเพศเดียวกันจดทะเบียนคู่ชีวิตได้ แต่มีหลายฝ่ายออกมาโต้แย้งว่าข้อกฎหมายดังกล่าว ยังไม่ครอบคลุมทุกสิทธิของคู่รักทุกเพศ และแตกต่างจากร่าง “พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม” ที่ให้สิทธิครบกว่า

ล่าสุด นักแสดงหนุ่ม พลัสเตอร์ พรพิพัฒน์ พัฒนเศรษฐานนท์ ซึ่งเผยว่าตนคือเพศ LGBTQ เป็นหนึ่งคนที่ออกมาเป็นกระบอกเสียงร่วมผลักดันร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมผ่าน ซึ่งเจ้าตัวให้สัมภาษณ์หลังจากที่มาร่วมงานแถลงข่าวเปิดตัว “ซีรีส์ Check Out คืนนั้นกับนายดาวเหนือ”

เผยถึงเรื่องดังกล่าว“พ.ร.บ. คู่ชีวิตก็ไม่เหมือนกับสมรสเท่าเทียม ต้องแยกแยะให้ออกก่อน ก็มีหลายคนที่เข้าใจในประเด็นนี้ผิดคือประเทศไทยขาดอย่างหนึ่งคือขาดเรื่องการศึกษาที่เท่าเทียมและเข้าถึงทุกคน ทำให้หลายคนสับสนเรื่อง พ.ร.บ. คู่ชีวิตแล้วก็กฎหมายสมรสเท่าเทียม

จริงๆ ก็เป็นหนึ่งเสียงในการผลักดันให้มีกฎหมายสมรสเท่าเทียม ซึ่งมันไม่เหมือนกันกับ พ.ร.บ. คู่ชีวิต สิทธิทุกอย่างมันไม่ได้เหมือนกันทั้งหมด อาจจะต้องทำความเข้าใจใหม่ สมรสเท่าเทียมชื่อมันก็บอกแล้วว่ามันเท่าเทียมทุกเพศจริงๆ ไม่ว่าจะคู่ชายชาย หญิงหญิง หรือคู่ไหนไหนที่กฎหมายยังไม่รองรับ ตรงนี้ก็จะมาตอบโจทย์พวกเขา

เชื่อว่าหลายๆ คนก็อยากจะเป็นกระบอกเสียง ซึ่งในวงการบันเทิงก็มีผลักดันในเรื่องนี้ด้วย แต่ว่าหลายคนก็พูดไม่ได้ อย่างที่รู้ๆ กันอยู่ แต่วันนี้เราออกมา call out ขนาดนี้ก็ยินดีที่จะเป็นกระบอกเสียงให้กฎหมายสมรสเท่าเทียมผ่านไปสักที อย่าได้เลื่อนมันปัดตกเลยครับ

คิดว่ายังมีข้อไหนที่ยังทำให้สมรสเท่าเทียมมันไม่ผ่าน? “พูดถึงต้นขั้วก่อนนะครับ ต้นขั้วก็จะเป็นการพูดถึงความรักซะส่วนใหญ่ คือคู่ชายหญิงเป็นแฟนกันแต่งงานกันจดทะเบียนกันมีสิทธิ อย่างเช่นทำศพ ไกล่เกลี่ยเรื่องมรดก แต่อันนี้ลองคิดดูนะคะว่าถ้าคนคนหนึ่งตายไปแต่ไม่มีสิทธิ์ในคู่ของตัวเองเลยแล้วคนตายพูดไม่ได้

เราก็เห็นอยู่ในหลายๆ เคสว่าคนตายพูดไม่ได้จริงๆ ก็อยากจะฝากไว้ จริงๆ ก็ไม่ได้เป็นแค่คนติดตามแต่ก็เป็นคนเชียร์เรื่องนี้ด้วย เพราะถ้าพูดถึงในอนาคตก็อาจจะเป็นตัวเรา เราไม่รู้หรอกว่าวันนี้เราอาจจะขอแฟนแต่งงานหรือพรุ่งนี้เราจะขอเขาแต่งงาน ก็อยากจะให้มีอะไรที่รองรับ อย่างน้อยก็เป็นมันอาจจะเป็นประโยชน์ให้กับหลายๆ คู่รุ่นใหม่

วันที่ 15 ร่าง พ.ร.บ.จะเข้าสภา? “ก็ลุ้นครับ ถ้ามีวาระแล้วก็อยากจะให้มันเกิดขึ้นจริง อย่าให้เรื่องมันถูกปัดตกเลยครับ เราเองเป็นคนในกระแสและในยุคของเรามันแรงมากในเรื่องของกระแส ไม่ว่าจะเป็นการโพสต์ทวิตเตอร์หรือจะเป็นเรื่องผลักดันในการลงชื่อต่างๆ สุดท้ายแล้วก็อยู่กับการตัดสินใจของผู้มีอำนาจ อยากจะฝากไว้แล้วกันครับ ถ้าวันนี้ข่าวนี้ประชาสัมพันธ์ออกไปก็อยากจะให้ทุกคนเป็นกำลังใจให้คนที่เขากำลังต่อสู้กับเรื่องนี้ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม”

พูดถึงเรื่องแต่งงานแสดงว่าเรามีในหัวแล้ว? “(หัวเราะ) เคยถามเหมือนกันว่าเมื่อไหร่จะขอเราแต่งงานหรือว่าจะให้เราขอดี จริงๆ แล้วต้องบอกว่าเพศอย่างเรา LGBTQ ไม่มีกฎหมายรองรับไม่พอ สิทธิอะไรก็ไม่ได้สักอย่าง ทั้งที่ก็จ่ายภาษีเท่ากัน แล้วการที่คนๆ หนึ่งจะต้องขอแต่งงานมันก็ไม่ใช่เป็นอะไรที่สำคัญมากนะครับ

แต่มันก็เป็นพิธีกรรมหนึ่งที่คู่ชายหญิงก็มี พ่อแม่ก็อยากให้มี มันก็คงเป็นพิธีกรรมที่หาคนมาเป็นสักขีพยานหน่อย ประกาศว่าจะรักและซื่อสัตย์ต่อกัน ก็เป็นอะไรที่โหยหาและอยากให้มี ผมอาจจะหัวโบราณ แต่เชื่อว่าเด็กๆ ก็อาจจะเข้าใจในเรื่องของการสมรสเท่าเทียมไม่งั้นจะผลักดันกันไปทำไม ทุกคนก็คงจะอยากเท่าเทียมกันหมด แม้แต่เราเองยังอยากจะให้ทุกคนเท่าเทียมกับเราเลย เพื่อนมนุษย์ก็ช่วยๆ กันครับ”

ถ้าผ่านขึ้นมาเราจะเป็นคู่แรกๆ เลยไหมที่แต่ง? “อันนี้ก็เป็นเรื่องของระยะเวลาแล้วกันครับ ทุกวันนี้ก็ยังแฮปปี้ดี ถ้ามีเรื่องของการสมรสเข้ามาจริงๆ คือต้นขั้วจริงๆ ต้องให้ความรู้ซึ่งกันและกัน ไม่ว่าจะเจนไหนก็ตาม อย่างคู่ของพลัสเองอาจจะเข้าใจ พ่อแม่พลัสอาจจะเข้าใจ แต่ฝั่งแฟน

พ่อแม่แฟนอาจจะไม่เข้าใจก็ได้ การเปลี่ยนแปลงมันยากครับ แต่เลือกที่จะเปลี่ยนตัวเองด้วย ช่วยๆ กันแพร่กระจาย ค่อยๆ ป้อนไป วันนี้อาจจะไม่ยอมรับแต่พรุ่งนี้ก็อาจจะมีโอกาสก็ได้ในเรื่องของครอบครัว ผมเชื่อว่าทุกการเปลี่ยนแปลงมันดีเสมอ”

เราอยากจะบอกคนที่ไม่เข้าใจเรายังไงบ้าง? “จริงๆ แล้วไม่ได้ออกมาเรียกร้องอะไรนะครับ แต่อยากจะเป็นกระบอกเสียงให้หนึ่งเสียงของเรามีค่ามากที่สุดและอยากให้ทุกคนเข้าใจ อย่างน้อยก็บอกให้หลายๆ เจน หรือเพื่อนคนรอบข้างให้เข้าใจในตรงนี้ โลกมันก็จะน่าอยู่มากขึ้นถ้ามันเท่าเทียมกันทั้งหมด”

ในความคิดของเราสิ่งที่มันควรจะเท่าเทียมมากกว่านี้มันมีอะไรบ้าง? “จริงๆ แล้วถ้าเป็นการเจอกับตัวก็จะเป็นในเรื่องของการทิสการอยู่ในสังคม อย่างน้อยกฎหมายมันยังไม่ได้รองรับการบูลลี่มันก็เป็นสิ่งที่เราควรจะรณรงค์ไม่ให้มันเกิดขึ้น

บางครั้งปัญหาเล็กๆ มันไม่มีคนเข้าใจหรอก อย่างเช่นคนเป็นโรคซึมเศร้าผมเข้าใจได้ว่าปัญหาเล็กๆ ของเขามันเป็นปัญหาที่ใหญ่มากๆ ของเขาเอง เพราะฉะนั้นอยากให้รณรงค์ช่วยกันเป็นกำลังใจให้ซึ่งกันและกันดีกว่า มันจะได้เกิดการเท่าเทียมกันจริงๆ หยุดบูลลี่เรื่องเพศเรื่องเถอะนะครับ ปีไหนแล้ว”

ในฐานะที่เราเป็นเพื่อนสนิทของแพรวา ตอนนี้สภาพจิตใจของเขาเป็นยังไงบ้าง? “โอเคเลยครับช่วงนี้แอ๊กทิวิตี้เยอะ แพรวาเป็นคนที่มีมายด์เซ็ตค่อนข้างโกออน โกออนในเรื่องที่เอาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตมาผลักดันในชีวิต เขาคงจะทราบในหลายๆ รายการที่เขาไปออก อย่างรายการของคลับฟรายเดย์ว่าแพรวาเองเจออะไรมาบ้าง

พลัสก็อยู่ในเหตุการณ์ที่เขาได้เจอสิ่งนี้มา เรารู้สึกว่าถ้าเป็นเราในเหตุการณ์นั้นเราก็คงจะปิดชีวิตไหม แต่นั่นก็ไม่ใช่การแก้ และมันก็ไม่ใช่ทางออก เพราะท้ายที่สุดแล้วคนข้างหลังที่ใช้ชีวิตหลังจากนี้ถ้าไม่มีเขา จะต้องทำยังไง อย่าแพรวาก็เป็นเคส Study นะครับ สำหรับผมเองด้วย เขาค่อนข้างเก่งแล้วก็สตรองมากผู้หญิงควรจะเอาเป็นแบบอย่างนะครับ”

แล้วเราให้กำลังใจเพื่อนยังไงบ้าง?โกเลยมึง โกให้ได้มากที่สุดครับ คือนาทีนั้นมันขาดแค่คนเข้าใจขอแค่มีคนเข้าใจเขา อย่างเราเราเข้าใจเขาว่ามันเกิดอะไรขึ้นก็ให้กำลังใจและคอยอยู่ข้างๆ แค่นี้ เขาต้องการแค่นี้จริงๆ ตอนนี้ชีวิตเขาก็แฮปปี้ครับ ผมคิดว่าพร้อมที่จะรับงานมากขึ้น”

ดูข่าวต้นฉบับ

ที่มา : https://www.khaosod.co.th/entertainment/news_7108266
ขอขอบคุณ : https://www.khaosod.co.th/entertainment/news_7108266