เผยเหตุเสียชีวิต ไอจีหม่อมน้อย เคลื่อนไหวหลังสิ้น กล่าวถึงนักแสดงที่ดี


ให้คะแนน


แชร์

ตั๊ก บงกช คนบันเทิงกราบลาอาลัยสุดเศร้า เผยเหตุเสียชีวิต ไอจีหม่อมน้อย เคลื่อนไหวหลังจากไปอย่างสงบในวัย 68 ปี เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลเป็นเวลาเกือบสองเดือน กล่าวถึงนักแสดงที่ดี

เกาะติดข่าว กดติดตาม ข่าวสด

จากกรณีวงการบันเทิงสุดโศกเศร้าสูญเสียผู้กำกับชั้นครู ‘ม.ล.พันธุ์เทวนพ เทวกุล’ หรือ หม่อมน้อย หลังเพจ สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล Sahamongkolfilm International โพสต์ข้อความว่า “ขอแสดงความเสียใจต่อการจากไปของ หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล หรือ #หม่อมน้อย อาจารย์ด้านการแสดงที่สำคัญคนหนึ่งของเมืองไทย 2496 – 2565
หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพฯ มีผลงานภาพยนตร์เรื่องแรกคือ เพลิงพิศวาส ร่วมกับทาง สหมงคลฟิล์ม ฯที่ได้สร้างชื่อให้แก่ สินจัย เปล่งพานิช และในอีก 26 ปีต่อมา หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพได้กลับมาร่วมงานกับสหมงคลฟิล์มอีกครั้งในการสร้างภาพยนตร์เรื่อง ชั่วฟ้าดินสลาย”

โดย ม.ล.พันธุ์เทวนพ เทวกุล ถึงแก่กรรม วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2565 เวลา 22.20 น. ด้วยโรคมะเร็งปอด หลังจากที่เข้ารักษาตัว ณ โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน เป็นเวลาเกือบสองเดือน ด้วยอายุ 68 ปี

ขณะที่อินสตาแกรมของหม่อมน้อย @actingclass_hmom ซึ่งอินสตาแกรมนี้หม่อมเลือกรูปพร้อมคำบรรยายเอง ได้เคลื่อนไหวหลังการสูญเสีย หม่อมน้อย โดยโพสต์ภาพข้อความของ หม่อมน้อย ที่กล่าวว่า นักแสดงที่ดีควรระลึกถึงหน้าที่และความรับผิดชอบ ที่มีอย่างสูงสุดต่อผู้ชมและเพื่อนร่วมงานทุกฝ่าย เพราะถ้าหากไม่ตั้งใจแสดงให้ดี ก็เท่ากับ เป็นการทำลายผลงานของผู้เขียนบท ผู้กำกับการแสดง ทีมงานทุกฝ่าย และเป็นการทรยศต่อศรัทธาของผู้ชม

พร้อมแคปชั่นด้วยว่า ประโยคนี้จะเป็นประโยคแรกสำหรับในการสอนของหม่อม จะเป็นการบอกให้นักเรียนของหม่อมทุกคนพึงระลึกไว้เสมอ ว่าหน้าที่ของ “นักแสดงที่ดี” เป็นอย่างไร และมีความสำคัญขนาดไหน เพราะการแสดงนั้นเป็นเรื่องที่ “ศักดิ์สิทธ์” ไม่ใช่มาทำกันเล่นๆ

นี่อาจจะเป็นข้อความไว้สำหรับเตือนใจ และกระตุ้นสำนึกของบุคคลที่ทำอาชีพ “นักแสดง” ที่ “หม่อมน้อย” มีความปรารถนาอยากจะเห็น “นักแสดงไทย” ยกระดับเทียบเท่า “สากล” มีจิตสำนึกรักในอาชีพ และเป็น “นักแสดง” ที่ “ดี”

ท่ามกลางคนบันเทิงจำนวนมากเข้ามาร่วมแสดงความอาลัย อาทิ ตั๊ก บงกช เข้ามาคอมเมนต์ด้วยว่า ขอกราบเท้าหม่อมค่ะ ตั๊กไม่เคยลืมที่หม่อมสอน การเป็นนักแสดงคือ เเสดงให้คนดูโดยให้ได้ประโยชน์มากที่สุด ไม่ใช่เเสดงเพื่อการโด่งดัง เเละนำประโยชน์เข้าตัว , ซานิ เอเอฟ ก็ร่วมกราบลาอาลัยด้วยว่า กราบลาหม่อมค่ะ รักหม่อมที่สุด ขอบคุณที่เอ็นดูศิษย์คนนี้มาโดยตลอด กราบด้วยหัวใจค่ะ เป็นต้น

ประวัติหม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล (หม่อมน้อย) เกิดวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2497 เป็นบุตรชายคนที่ 2 ของ หม่อมราชวงศ์ ชนาญวัต เทวกุล กับ นางภักดี เทวกุล ณ อยุธยา มีพี่น้องทั้งหมด 5คน

การศึกษา
อนุบาล โรงเรียน สมถวิล (ราชดำริ)
ประถม-มัธยมศึกษา โรงเรียนสาธิตประสานมิตร
อุดมศึกษา คณะอักษรศาสตร์ ภาควิชา ศิลปะการละคร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการสื่อบันเทิง ประจำปีการศึกษา 2557 จากสถาบันกันตนา

การทำงาน
ด้านการเป็นอาจารย์สอนการกำกับแสดงและการแสดงในระดับสากล ตามสถาบันการศึกษา ดังนี้
อาจารย์สอนการแสดงที่สหมงคลฟิล์ม
อาจารย์พิเศษสอนที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
อาจารย์พิเศษสอนที่วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล
อาจารย์พิเศษที่สถาบันกันตนา
อาจารย์พิเศษสอนนักศึกษาปริญญาโทที่ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
สอนการแสดงแก่ศิลปินและนักแสดง จากค่ายต่างๆ
ด้านการเป็นผู้กำกับละครเวที ผู้กำกับละครโทรทัศน์ ผู้กำกับภาพยนตร์ และ เป็นผู้เขียนบท ตามรายชื่อผลงานทั้งหมด ดังนี้

กำกับภาพยนตร์
เพลิงพิศวาส (2527)
ช่างมันฉันไม่แคร์ (2529)
ฉันผู้ชายนะยะ (2530)
นางนวล (2530) [4]
เผื่อใจไว้ให้กันสักหน่อย (2532)
ความรักไม่มีชื่อ (2533)
มหัศจรรย์แห่งรัก (2538)
อันดากับฟ้าใส (2540)
ชั่วฟ้าดินสลาย (2553)
อุโมงค์ผาเมือง (2554) [5]
จัน ดารา ปฐมบท (2555)
จัน ดารา ปัจฉิมบท (2556)
แผลเก่า (2557)
แม่เบี้ย (2558)
Six characters มายาพิศวง (2565)

กำกับละครโทรทัศน์

เทพธิดาบาร์ 21 (มินิซีรีส์ 2533)
ช่างมันฉันไม่แคร์ (2536)
แผ่นดินของเรา (2539)
ซอยปรารถนา 2500 (2541)
ปีกทอง (2542)
ลูกทาส (2544)
คนเริงเมือง (2545)
ทะเลฤๅอิ่ม (2546)
สี่แผ่นดิน (2546)
ในฝัน (2549)
ศรีอโยธยา (2560)

กำกับละครเวที
ALL MY SON (2517)- แสดงที่หอประชุม A.U.A
บัลเลต์พระราชนิพนธ์ “ความฝันอันสูงสุด” (2518) – แสดงที่โรงละครแห่งชาติ

The Lower Depths (2517, 2518) – แสดงที่โรงละครคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ และโรงละครแห่งชาติ

IMPROMPTU (2520) – แสดงที่สถาบันวัฒนธรรมเยอรมัน

LES MALENTANDU (2524) – แสดงที่หอประชุมคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เทพธิดาบาร์ 21 (2529) – แสดงที่โรงละครมณเทียรทอง

ONE FLEW OVER THE CUCKOO’S NEST (2530) – แสดงที่โรงละครมณเทียรทอง

ผู้แพ้ผู้ชนะ (2532) – แสดงที่โรงละครมณเทียรทอง
พรายน้ำ (2533) – แสดงที่โรงละครมณเทียรทอง
ราโชมอน (2534) – แสดงที่โรงละครมณเทียรทอง
ปรัชญาชีวิต (2531-2533) – แสดงที่ตึกร้าง บ.แปลนอคิวเท็ก, เชียงใหม่ สปอร์ตคลับ, ม.ขอนแก่น

พระผู้เป็นดวงใจ ของโรงเรียนสวนจิตรลดา (2529) – แสดงที่หอประชุมศูนย์วัฒนธรรมแห่งชาติ

แฮมเล็ต เดอะ มิวสิเคิล (2538) – แสดงที่หอประชุมศูนย์วัฒนธรรมแห่งชาติ

ดูข่าวต้นฉบับ

ที่มา : https://www.khaosod.co.th/entertainment/news_7268323
ขอขอบคุณ : https://www.khaosod.co.th/entertainment/news_7268323