ฝน ศนันธฉัตร เรียกร้องให้ผู้มีอำนาจ แก้ไขการเรียนออนไลน์อย่างเร่งด่วน


ให้คะแนน


แชร์

ฝน ศนันธฉัตร เรียกร้องให้ผู้มีอำนาจ แก้ไขการเรียนออนไลน์อย่างเร่งด่วน

เกาะติดข่าว กดติดตาม ข่าวสด

ฝน ศนันธฉัตร / จากกรณีที่ ฝน ศนันธฉัตร ธนพัฒน์พิศาล นักแสดงโพสต์ข้อความลงไอจี มีข้อความที่ว่าด้วยเรื่องการเรียนออนไลน์ ว่าช่วงชีวิตวัยเรียนไม่ใช่แค่การได้รับความรู้จากสถาบัน ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียน มหาวิทยาลัยหรืออะไรก็ตาม แต่ยังรวมถึงประสบการณ์จากการมีเพื่อน ทำกิจกรรม ค้นหาตัวเอง รับบทเป็นผู้นำ ผู้ตาม ได้พัฒนาทั้ง IQ, EQ ไปพร้อมๆกัน แต่เหตุการณ์ปัจจุบันทำให้นักเรียนนักศึกษายังไม่สามารถกลับเข้าสู่ระบบเพื่อใช้ชีวิตในแบบที่ควรได้สักที

ฝน ศนันธฉัตร

ตัวฝนเองในขณะนี้ก็อยู่ในสถานะนักเรียนออนไลน์ที่เสียดายเวลาชีวิตที่ตัวเองและผู้ที่กำลังเจอเหตุการณ์เดียวกัน ทุกคนต้องสูญเสียไปเพราะการจัดการที่มีประสิทธิภาพไม่เพียงพอ ในขณะที่นักเรียนนักศึกษากำลังจะเติบโตไปเป็นบุคลากรที่สำคัญของประเทศ ดังนั้นเสียงของทุกคนมีความหมาย ภาครัฐ หน่วยงานและผู้มีอำนาจที่เกี่ยวข้องควรบริหารและจัดการทรัพยากรอย่างจริงจังเร่งด่วนเพื่อให้วิกฤติครั้งนี้ผ่านไปโดยเร็วที่สุด และมีประสิทธิภาพสูงสุด.

ล่าสุด ข่าวสดออนไลน์ ได้ติดต่อเพื่อถามถึงเรื่องดังกล่าวโดย ฝน เผยว่า “คืออย่างช่วงที่ผ่านมา ฝนก็ลงเรียนของมหาวิทยาลัยรามคำแหงไว้ เป็นปริญญาตีอีกใบหนึ่ง โอเค เรามาโฟกัสเรื่องเรียนก่อน ในเมื่องานแสดงเราไม่ได้สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้ด้วยเราคนเดียว เราก็มาทำอีกอย่างหนึ่งที่เราสามารถทำได้ในช่วงเวลานี้ก่อน”

เห็นมีบ่นๆ ว่าการเรียนออนไลน์มันไม่สะดวก ไม่เสถียรสำหรับทุกๆ คน “ใช่ค่ะ ฝนรู้สึกว่าอย่างตัวฝนเอง ฝนเดือนร้อนเท่าคนอื่นไหม คือฝนจบปริญญาตรีมาแล้ว 5-6 ปี แต่ว่าใบนี้ที่มาเรียนคือเรียนเพิ่มเติม คือนิติศาสตร์ ของรามคำแหง แต่ว่าตัวเราก็ได้รับเสียงฟีดแบ็กจากรอบๆ ข้าง ไม่ว่าที่เรียนปริญญาโท หรือว่านักเรียนนักศึกษาที่เรียนเป็นครั้งแรกของเขาที่ยังเป็นช่วงมัธยมอยู่ เป็นช่วงมหาลัยอยู่ ยังเรียนไม่จบอย่างนี้ มันซับเฟอร์กับที่ต้องมานั่งเรียนหน้าคอมฯเฉยๆ ทั้งวัน

ฝน ศนันธฉัตร

แล้วไม่ใช่ทุกคนที่จะมีเทคโนโลยีที่พร้อม ไม่ใช่ทุกคนที่มีอุปกรณ์การเรียนที่พร้อม ไม่ใช่พ่อแม่ผู้ปกครองทุกคนที่สามารถอยู่สอนเด็กข้างๆได้ เพราะปกติแล้วเด็กๆ ในช่วงวัยมัธยม ประถม เด็กๆ ก็จะไปโรงเรียน เพื่อไปเจอคุณครู เจอเพื่อน เจอสังคมได้เรียนรู้ มีคำถามอะไรก็สามารถเข้าถึงคุณครูผู้สอนได้โดยตรง แต่ตอนนี้เหมือนมีภาระของคุณพ่อคุณแม่เพิ่มขึ้น ที่จะต้องมานั่งประกบ ว่าเอ๊ะ ลูกฉันเรียนอยู่หรือเปล่า ลูกฉันทำอะไรอยู่ แล้วลูกฉันเรียนเข้าใจไหม คือมันก็คือภาระที่เพิ่มขึ้น

ถามว่าตอนนี้การเรียนออนไลน์มันช่วยได้ไหมในช่วงที่สถานการณ์โควิดกำลังรุนแรง คือมันก็ดีกว่าที่ไม่ได้ไปเรียน แต่ถามว่าตัวคุณครูเองที่เคยสอนออนไซด์ หรือสอนที่โรงเรียนมาตลอด วันหนึ่งให้คุณครูปรับตัวมาใช้เทคโลยี ไม่ใช่เรื่องง่ายค่ะ บางทีคุณครูก็ยังปรับตัวไม่ทัน โอเคหรือบางทีเราสามารถเข้าแอปพิเคชั่น แต่คุณครูแค่อ่านหนังสือให้นักเรียนฟัง สื่อการสอนมันก็ไม่เพียงพอ คือตั้งแต่ที่โรงเรียนเลย

อาจจะต้องพัฒนาคุณครูไหม ว่าทำสื่อการสอนให้ดีขึ้น คือเวลาเรียน เรามีทั้งฟังพูดอ่านเขียน ทั้งภาพ ทั้งทำกิจกรรม คุณครูก็อาจจะต้องทำพาวเวอร์พอยท์ไหม ทำสื่อการสอนอะไรที่ดึงดูดความสนใจนักเรียนมากขึ้น หรือว่าปกติเราเรียน 2 ชั่วโมงติด ถ้าการเรียนสองชั่วโมงติดมันทำให้นักเรียนคอนเซ็นเทรดไม่ได้ ถ้าเราลดเวลาเรียนให้เราได้คอนเซ็นเทรดกับเนื้อหาจริงๆ มันจะเหมาะสมกว่าไหม คือคุณครูต้องพัฒนา

ฝน ศนันธฉัตร

เด็กต้องปรับตัว โรงเรียนก็ต้องช่วย ไหนจะเรื่องค่าเทอมอีก ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงก็ลดค่าเทอม สำหรับเราเราจ่ายไหว แต่หลายๆคนเขาบอกว่าเขาต้องเดินทางจากต่างจังหวัดเข้ามา เช่าหอพัก ซึ่งหอพักเขาก็ไม่ลดราคาให้ อย่างสมมุติ หนึ่งปีสองปีที่เขาจองไว้เพื่อมาเรียนที่มหาวิทยาลัย แต่มหาวิทยาลัยให้เรียนออนไลน์ เขาเสียค่าเช่าฟรี โดยที่ไม่ได้อะไรเลย”

สำหรับเด็ก ก็เป็นปัญหาหน่อย “ใช่ มันเป็นความยาก อย่างเราเป็นเด็กโต เราก็รู้สึกว่าสภาพแวดล้อมในการศึกษาก็มีผล เช่นสมมติว่าเราอยู่ในบ้านกับพ่อแม่ผู้ปกครอง ถ้าพ่อแม่ผู้ปกครองเวิร์คฟอร์มโฮม พ่อแม่ก็ต้องมีตติ้งออนไลน์เหมือนกัน ต่อให้คนต่างฝ่ายต่างใส่หูฟัง แต่พื้นที่มันจำกัด คนหนึ่งก็เรียนเรื่องหนึ่ง คนหนึ่งก็พูดเรื่องหนึ่ง มันแบบมีสิ่งก่อกวนตลอดเวลา”

สิ่งหนึ่งที่บอกว่าการออกไปเรียน คือการได้รับทั้ง อีคิว และ ไอคิว “คืออย่างบอกว่า เราทุกคนก็ผ่านช่วงวัยเรียนมา แล้วเราก็รู้ว่าประสบการณ์ช่วงวัยเรียนมันมีค่า เพราะว่า เราออกจากครอบครัวเราเข้าไปสู่โรงเรียน คืออีกสังคมหนึ่ง ที่ชีวิตของคนคนหนึ่งจะได้เติบโตและเรียนรู้ผ่านกิจกรรม ไม่ว่าจะทั้งกิจกรรมทางวิชาการ กีฬาสี การทำกิจกรรมกลุ่ม การได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิด เรียนรู้มนุษยสัมพันธ์ การอยู่ร่วมกับคนอื่น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องภาวะผู้นำ ภาวะผู้ตาม เหมือนในสมัยเรียน เหมือนคุณครูก็จะมอบบทบาทสมมุติให้เราได้ทดลอง ให้เราเรียนรู้ว่าเราชอบอะไร เราชอบวิชานี้ไหม เราโตขึ้นเราอยากเป็นอะไร เราอยากเข้ามหาวิทยาลัยแบบไหน เราชอบอยู่ในสังคมแบบไหน มันคือการเรียนรู้จริงๆ คือการเรียนออนไลน์มันไม่มีทางได้ครึ่งหนึ่งของประสบการณ์จริงจะให้ได้”

ฝน ศนันธฉัตร

มีคนช่วยแชร์ประสบการณ์เรียนออนไลน์ให้ด้วย “เยอะมากๆ เลยค่ะ คือตอนนี้ฝนว่าสำหรับน้องๆ นักศึกษา นักเรียน เรียนออนไลน์ 90 – 100 เปอร์เซ็นต์ ทุกคนจะเจอปัญหา ไม่ว่าจะเป็น คุณพ่อคุณแม่ต้องแบกภาระเพิ่มในการซื้ออุปกรณ์การศึกษาเพิ่ม อย่างแท็บเล็ต โน๊ตบุ๊ก ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นมาที่ไม่ใช่ทุกคนจะรับไหวกับตรงนี้ เพราะสถานการณ์เศรษฐกิจมันก็ต้องตึงอยู่แล้ว

ถัดมาพอคุณครูเริ่มเปลี่ยนจากการสอนในห้องมาเรียนออนไลน์ คุณครูเองก็เตรียมบทเรียน เตรียมการสอนไม่ทัน เพราะมันกะทันหันเหมือนกัน คุณครูก็อาจจะใช้วิธีเดิม คือทุกคนฟังนะ บทนี้มันหนึ่งถึงสิบ ซึ่งเป็นเรื่องยากมากๆ ที่เด็กจะคอนเซ็นเทรดกับสิ่งนั้นๆ ได้ มันต้องพัฒนาสื่อการสอนไหม ทำอย่างไงเวลาเรียนมันต้องมีการเช็คเรื่อยๆ ว่าสิ่งที่สอนไปเด็กเข้าใจไหม มีประสิทธิภาพไหม ไม่งั้นก็เหมือนเรานั่งฟังบรรยายอะไรอย่างหนึ่งที่เราไม่ได้รับความรู้จริงๆ

มันต้องมีการเช็คเรื่อยๆว่า โอเคทุกคนตามทันไหม เข้าใจไหม มีใครถามได้ไหม แล้วสิ่งสำคัญคือ ถ้านักเรียนถาม คุณครูไม่ควรจะถามว่า ทำไมเธอฟังเพื่อนไม่ทัน ทำไมเธอไม่เข้าใจ คนอื่นเข้าไปไปหมดแล้ว ไปถามเพื่อนๆ เอา ซึ่งเรารู้สึกว่า จริงๆ แล้วการที่นักเรียนถามคุณครูควรจะดีใจว่าเขาตั้งใจฟัง ถ้าคุณครูอธิบายให้เขาฟังได้ แปลว่าการสอนครั้งนี้ประสบความสำเร็จ

ถ้ามีนักเรียนไม่เข้าใจเยอะ คุณครูต้องพิจารณาว่า เราสอนอะไรพลาดไปหรือเปล่า เราอธิบายอะไรไม่ละเอียดไหม ช่วยเหลือนักเรียนอย่างไงได้บ้าง อะไรอย่างนี้ มันต้องช่วยเหลือกันทุกส่วน หรือถ้าโอเคคุณครูคนเดียวอาจจะไม่สามารถพัฒนาได้ทั้งหมด โรงเรียนอาจจะต้องจัดโปรแกรมให้คุณครูทั้งหลายได้เรียนรู้ไหม ว่าโอเคเราจะมีสื่อการสอนอย่างไง เราปรับตัวอย่างไง ปัญหาที่เกิดขึ้นคืออะไร โรงเรียนเองผู้บริหารเองก็ต้องมีส่วนมาช่วยในจุดนี้เพื่อพัฒนาไปพร้อมๆกัน เพราะว่าครูคนเดียวต้องคงแบกไม่ไหวเหมือนกันกับสิ่งที่ต้องจัดการที่ต้องปรับปรุงค่ะ”

ฝน ศนันธฉัตร

ภาครัฐ หรือหน่วยงานควรช่วยเหลือ หรือสมควรแนะนำในเรื่องไหนบ้าง “คือ ถ้าถามถึงความคาดหวังของนักเรียนนักศึกษาเลย ใครๆ ก็อยากจะกลับไปเรียนในระบบปกติอยู่แล้ว กลับเข้าไปเรียนในโรงเรียน ได้เจอเพื่อน ได้ไปศึกษาอะไรจริงๆ เหมือนที่มันเคยผ่านมา แต่ถ้ามองมุมนั้น ก็มีรีเสิร์ตหลายอย่างมากที่บอกว่าถ้าประชากรได้รับวัคซีน 70 – 90 เปอร์เซ็น แล้วก็จะมีเหมือนการติดโรคมันก็จะน้อยลง โรคมันแพร่กระจายน้อยลง มันสามารถให้เรากลับไปใช้ชีวิตได้เกือบเหมือนปกติที่สุด

นั่นก็หมายความว่าประชากรต้องได้รับวัคซีน 70 – 90 เปอร์เซ็นต์ ในระยะเวลาที่ใกล้เคียง สมมติว่าประชากร 10 เปอร์เซ็นต์แรกได้รับวัคซีน แต่อีก 5 เดือน อีก 10 เปอร์เซ็นต์ได้รับวัคซีน มันแทบไม่มีประโยชน์เลย เพราะว่าภูมิคุ้มกันมันก็ลดลงแล้ว มันต้องให้ประชากรหมู่มากได้รับวัคซีนในระยะใกล้เคียงกัน ไม่งั้นวัคซีนมันก็หมดภูมิ เหมือนต้องนับหนึ่งไปเรื่อยๆ อันนี้ก็เป็นส่วนที่ภาครัฐจัดการได้

ดูข่าวต้นฉบับ

ที่มา : https://www.khaosod.co.th/entertainment/news_6496158
ขอขอบคุณ : https://www.khaosod.co.th/entertainment/news_6496158