“อรอนงค์” กัดฟันต่อสู้โรคมะเร็งต่อมไทมัส ผ่านนาทีชีวิตหมอเฝ้าดูอาการฉายรังสี 30 ครั้ง!


ให้คะแนน


แชร์

ส่งกำลังใจให้รัวๆ นางสาวไทยในตำนาน “อร-อรอนงค์ ปัญญาวงศ์” ตรวจพบเนื้อร้ายนำไปสู่การเผชิญกับโรคมะเร็งต่อมไทมัส เจ้าตัวต้องเข้ารับการรักษาเฝ้าดูอาการอย่างใกล้ชิดจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ล่าสุดเปิดใจผ่านรายการโต๊ะหนูแหม่ม เล่าวินาทีชีวิตการต่อสู้กับโรคมะเร็ง ที่ต้องฉายรังสีบำบัดถึง 30 ครั้ง

อรอนงค์ เผยว่า “ตอนรู้ว่าเป็นมะเร็งตอนนั้นนิ่งไปสักพักนึง สตั๊นต์ตรงที่เราเป็นเนื้อร้ายมันนำไปสู่การเป็นมะเร็ง ตอนนั้นคิดว่าจะรักษายังไงจะบอกลูกยังไง จะบอกแม่ยังไงดี คือเราต้องบอกคนรอบข้างเราคิดว่าเราจะต้องบอกแม่ยังไง ตอนแรกคิดว่าคงบอกแม่ไม่ได้ ไม่อยากให้แม่รู้ว่าเป็นมะเร็งก็เลยเลือกที่จะบอกลูกก่อน ตอนแรกบอกลูกว่ามีเนื้อร้ายนิดหน่อย แต่ไม่เยอะมากเพราะว่าเราเพิ่งเจอ ลูกคนเล็กเค้าก็ให้กำลังใจบอกว่าคุณแม่ยังแข็งแรงไม่เป็นอะไรมากหรอก ส่วนคนโตก็ให้กำลังใจว่าที่คุณแม่เคยผ่าตัดเป็นการผ่าตัดที่ใหญ่แล้ว คงไม่ไปถึงขั้นนั้นหรอก เดี๋ยวรักษาเดี๋ยวก็หาย พอเรารู้ว่าเรามีเนื้อร้าย ขั้นตอนที่หนึ่งคือการฉายรังสี ใช้รังสีคือการพุ่งเป้าไปตรงที่เรามีเนื้อร้าย แล้วคุณหมอก็ทำการวินิจฉัยไว้แล้วว่าต้องรักษาทั้งหมด 30 ครั้ง ก็ไม่น้อยนะคะ ช่วงที่รักษาโดยการฉายรังสี คุณหมอก็บอกว่ามันจะมีผลข้างเคียง คือบริเวณที่ฉายรังสีไปมันจะมีเบิร์นมีไหม้ อาจจะมีเบื่ออาหาร อยากดื่มน้ำมากขึ้น และเราก็ต้องดื่มน้ำมากขึ้นเพื่อจะได้ขับปัสสาวะ คุณหมอก็ให้คำแนะนำให้ดูแลรักษาตัวเอง ทานอาหารให้มีประโยชน์ ดื่มน้ำเยอะๆ ดื่มน้ำที่ดีมีประโยชน์ต่อสุขภาพเรา อันไหนที่มีประโยชน์กับเราให้ทำไปเลย จนฉายรังสีครบทั้งหมดแล้ว 30 ครั้ง ครบแล้วเมื่อประมาณปลายเดือนธันวาคมปีที่แล้ว ซึ่งพอฉายครบทั้งหมด 30 ครั้งแล้ว ก็ต้องไปเว้นหนึ่งเดือนเพื่อทำที CTสแกน ดูผลว่าที่เราฉายแสงไปแล้วเป็นยังไงบ้าง เนื้อร้ายตรงที่เราเป็นเป็นยังไงบ้าง ปรากฏว่าคุณหมอบอกว่าโอเคเลย สวยเลยไม่มีจุดตรงที่เป็นเนื้อร้าย เหมือนยกภูเขาออกจากอก”

“เป็นเรื่องที่น่ายินดีมากซึ่งเราทราบว่า สเต็ปในการรักษา โรคมะเร็งถ้าฉายรังสีเสร็จมันก็ต้องต่อด้วยการให้คีโม ซึ่งคุณหมอก็บอกว่าถ้าหลังฉายรังสีเสร็จมาเราก็ต้องมาต่อด้วยการทำเคมีบำบัด ซึ่งเคมีบำบัดมันจะมีพุ่งเป้า มันจะมีกินยาที่เป็นขั้นตอน แต่คุณหมอเค้าทำให้เราอุ่นใจว่าอย่าไปพูดถึงขั้นตอนต่อไปเลย ไม่พูดถึงขั้นตอนให้คีโมให้เราสบายใจกับการฉายรังสีก่อน ในระหว่างที่เราฉายรังสี ก็จะมีการตรวจต่างๆ มีตรวจค่าเลือด ค่าอะไรต่างๆ ซึ่งระหว่างนั้นก็ตรวจแล้วไม่มีค่ามะเร็ง เราก็เลยรู้สึกว่าเราไม่ได้เป็น บางทีวิธีคิดมันก็ช่วยเราได้”

ดูข่าวต้นฉบับ

ที่มา : https://www.dailynews.co.th/news/3503743/
ขอขอบคุณ : https://www.dailynews.co.th/news/3503743/