เปิ้ล-จูน โอดโควิดทำพิษ ต้องปิดร้านขายเดลิเวอรี่ วอนรัฐช่วย


ให้คะแนน


แชร์

เปิ้ล-จูน โอดโควิดทำพิษ – วันที่ 8 ม.ค. 2564 เปิ้ล นาคร ศิลาชัย และ จูน กษมา ภรรยา ตั้งโต๊ะแถลงข่าวเปิดใจกับ สื่อมวลชน หลังได้รับผลกระทบจากพิษโควิด-19 ระบาดครั้งใหม่ ธุรกิจร้านอาหารที่เพิ่งเปิดได้ไม่นานขาดทุนยับ ลงทุนไปกว่า 10 ล้าน แบกรับภาระอุ้มลูกน้อง 100 กว่าชีวิต ที่ ร้าน Sail To The Moon By Nakorn พระราม 3

เปิดมาได้เดือนกว่า เจอผลกระทบโควิด-19เลย? จูน : “ใช่ค่ะ เปิดมาได้เดือนกับอีกอาทิตย์นึงก็เจอโควิด-19เลย”

เปิ้ล : “เราก็คาดไม่ถึงเหมือนกัน ซึ่งก็เชื่อว่าทุกคนทั้งประเทศ ทั้งโลกก็คาดไม่ถึงหรอกว่าจะเจอสถานการณ์แบบนี้อีกครั้งนึง ก็โดนเข้าเต็มๆ ร้านเราเปิดมาก็มีพนักงานค่อนข้างเยอะอยู่เกือบ 50 คน 2 สาขารวมกับคุณทองบายนาครรัชดา ซอย4 ด้วยก็อีกประมาณ 50 คน รวม 2 ร้านก็เกือบ 100 คน เรามีพนักงานที่จะต้องดูแลอยู่เกือบ 100 คน พอทางรัฐบาลสั่งว่าให้เปิดได้ถึง 3 ทุ่ม เราก็ปฎิบัติตามนั้นดู”

จูน : “ปฎิบัติได้อยู่ 2 วัน รู้สึกได้เลยว่าลูกค้าทุกคนหวาดกลัวกันหมด จูนเข้ามาเฝ้าร้านลูกค้าที่มาเรารับความรู้สึกเขาได้ เด็กเสิร์ฟ และจูนเองที่อยู่ก็ระแวงกันเอง คือต่างคนต่างระแวงกันเอง เลยตัดปัญหาไปเลยดีกว่า”

เปิ้ล : “ต่างคนต่างมองหน้ากันแล้วคุณเป็นซอมบี้หรือเปล่า เหมือนในหนังเกาหลีเลย เรามีความรู้สึกว่าถึงจะเปิดได้ถึง3 ทุ่มก็ตาม กับสถานการณ์ที่มันโตขึ้นทุกวันแบบนี้ มันก็ทำให้คนกินลดน้อยลงมาก จากประมาณ 100 เปอร์เซ็นต์ เหลือไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์เลยดีกว่าที่มานั่ง จากพนักงานของเราที่มีร่วม 100 คนเราก็จะไปลดลง หรือให้เขาหยุดงาน เราก็ทำไม่ได้ เขาก็จะตกงาน ซึ่งมันก็จะไปเป็นภาระของรัฐบาล เป็นภาระของสังคมอีก

ฉะนั้นเราก็เลยคิดกันเอาไงดี เพราะค่าเช่า 2 ที่ก็เป็นล้านนะครับ ค่าใช้จ่าย ค่าแรงงาน เยอะมากๆ มันเป็นภาวะที่เราเข้าใจแหละว่าไม่ใช่แค่เราเจอเท่านั้น คนไทยทั้งประเทศเจอ คนที่เดือดร้อนกว่าครอบครัวเราก็มีน่าจะเยอะมากๆ ยิ่งพ่อแม่พี่น้องที่ทำร้านค้าต่างๆ ทำธุรกิจอื่นที่ไม่ใช่อาหารอีก ทุกคนโดนกันหมด

มาถึงตรงนี้เราก็มองหน้ากับจูนว่าเอ๊ะ…เราจะไปต่อยังไงดี ซึ่งสุดท้ายเดลิเวอรี่ ไดร์ฟทูก็เป็นทางออกของเรา ให้เขารับอาหารจากเราไปทานที่บ้าน ก็โอเคนะ ส่วนจะเปิดร้านต่อไหมก็มองหน้ากันซักพักแล้วก็คิดว่าปิดเถอะ

จูน : “ที่เราอยากปิดเพราะเราอยากแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยแหละว่าถ้าเรายังเปิดอยู่ แล้วสมมติจริงๆว่ามีคนกินแล้วมีไทม์ไลน์มาที่ร้านเรา มันจะหนักไปกว่านี้ ทุกคนจะหนักกว่านี้อีก ก็บอกพี่เปิ้ลเราปิดเถอะ แล้วเราทำเป็นเดลิเวอรี่เหมือนตอนที่เป็นโควิด-19 ครั้งแรกดีกว่า”

เปิ้ล : “แต่มันก็มีคำถามมาอีกว่าถ้าเราปิดร้านแล้วลูกน้องเรา ร่วม 100 คนเราจะทำยังไง เราจะแบกกันไหวเหรอ

จูน : “แต่มันก็ต้องทำ”

เปิ้ล : “แล้วรายได้มันนิดเดียว แล้วลูกน้องเราจะยังไง เราจะให้เขาหยุด ออกจากบ้านไปครึ่งนึงเหรอ หรือจาก 100 คนเหลือ 20 คนแล้วอีก 80 คนล่ะ จะทำยังไง มีน้องบางคนเขาก็นั่งร้องไห้ เขาก็มาคุยกับเราตอนที่ประชุมกันว่าเราจะไม่ปิดร้านใช่ไหม เราก็ต้องตอบว่า ต้องปิด เขาก็น้ำตาไหลเลย แล้วพวกหนูจะยังไง ก็มานั่งคุยกันว่าไม่ต้องกลัว ทุกคนจะอยู่กับเรา

พี่เปิ้ลกับพี่จูนรับผิดชอบเอง เราจะรับผิดชอบทุกคนแต่ขอให้ทุกคนประหยัด ช่วยกันทำเท่าที่เรามี เดลิเวอรี่ก็ช่วยกันส่ง ใครเช็ด ปัด กวาด ล้างต่างๆให้มันสะอาด เตรียมทุกอย่างให้พร้อมกลับมา

เมื่อไหร่ที่ตัวเลขของคนติดเชื้อทยอยลดลง ทุกอย่างฟื้นกลับมาเมื่อไหร่ พวกเราจะได้รับเงินเดือนกันเต็มที่เหมือนเดิม แล้วเราจะรีบกลับมาเปิดร้านให้ได้เหมือนเดิม ซึ่งเราตั้งเป้าไว้ว่าจะปิดเดือนนี้ทั้งเดือน แต่ก็ไม่แน่ ถ้าโชคช่วยก็อาจจะเหลือ 2 อาทิตย์ก็ได้แล้วค่อยกลับมาเปิด ก็ภาวนาให้เป็นอย่างนั้น แต่ถ้ามันไม่ได้จริงๆเราก็ต้องกัดฟันดูแลรับผิดชอบพวกเราต่อไป”

จูน : “ที่เรารับผิดชอบที่ร้านตอนนี้เด็กๆยังอยู่กันครบ เขาก็เข้ามาทำความสะอาดร้าน เรามีอาหารให้ทาน 2 มื้อ ใครไม่มีข้าวกินก็มาทานที่ร้าน แค่นี้เขาก็มาช่วยกันเต็มที่ เห็นแค่นี้เราก็แบบเด็กใจเขาอยู่กับเรา แล้วเราจะไปทิ้งเขาได้ยังไง”

ต้องสลับกันมาทำงาน? จูน : “จริงๆให้สลับกันมา 2 รอบ เด็กเขาอยากมา อยู่บ้านก็ไม่ได้ทำอะไร เราก็ถ้าอยากมาก็มา แต่ต้องช่วยพี่นะ ก็มาเทรนด์งานกันใหม่เลยว่าใครจะทำอะไรบ้าง เราต้องมอบงานแล้วก็ช่วยกัน เราเห็นแววตาของเด็ก พี่สั่งมาผมทำได้หมด เรารู้เลยว่าเขาลำบากกันจริงๆนะ”

ลดค่าจ้างลงไปเยอะไหม? เปิ้ล : “ค่าจ้างตอนนี้เราดูที่ยอดขายจากเดลิเวอรี่ด้วย จาก 2 เดือนที่เปิดมายอดขายแทบจะไม่มีเลย เพราะยังไม่ค่อยมีใครรู้ว่าทางเราเปิดเดลิเวอรี่แล้ว แล้วก็ยังไม่มีใครรู้ว่าเราปิดร้านแล้ว หลายคนมาที่ร้านแล้วเราก็แจ้งเขาไปว่าเราปิด

แต่ก็ยังไม่รู้ว่าเดลิเวอรี่มันเป็นยังไง ระบบต่างๆร้านนี้ก็ยังไม่เคยทำ ก็ยังไม่รู้แต่วันนี้เราเซ็ตทั้งหมดเรียบร้อยแล้ว เราก็เลยต้องบอกพนักงานทุกคนให้ช่วยลดค่าใช้จ่ายหน่อย พี่ขอลดค่าแรงลงนิดนึงนะ มาทำงานวันเว้นวันได้ไหม

ในส่วนไหนที่จำเป็นก็ต้องทำงานกันเต็มวันทุกวัน มันจะช่วยลดค่าใช้จ่ายไปได้หน่อยนึง อย่างน้อยเด็กก็จะมีเงินไปจ่ายค่าห้องพัก ส่วนค่าอาหารเราเลี้ยงดูปูเสื่อทุกวันอยู่แล้วไม่ต้องห่วงเลย นอกนั้นก็น่าจะพอที่จะอยู่ได้ แล้วไม่ต้องไปไหนนะ ไม่ต้องกลับบ้านเกิดตัวเอง ไม่ต้องโยกย้ายเพราะเดี๋ยวจะเสียนโยบายของผู้ใหญ่ที่เขาวางมาให้ ก็พยายามทำให้ดีที่สุด”

เปิดมาเดือนกว่าก็เจออย่างนี้เลย? จูน : “จริงๆแล้วเริ่มมีข่าวก็เริ่มคุยกันแล้วว่าเราต้องเริ่มเดลิเวอรี่ คือเรามีประสบการณ์ตอนครั้งที่แล้ว ตอนคุณทองบายนาคร อันนั้นยิ่งกว่า เพราะเราตั้งตัวกันไม่ทันเลย แต่พอครั้งที่แล้วเรามีประสบการณ์ เราก็เริ่มเตรียมตัว พอเขาประกาศปุ๊บ เราก็เริ่มประชุม ก็ช็อกเพราะมันเร็วเกินไปสำหรับที่เราลงทุนทำร้านนี้ มันเจอเร็วเกินไป แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเราก็ต้องรับให้ได้”

เปิ้ล : “ถามว่าท้อมั้ย บอกตรงๆว่าไม่ท้อเลย เพราะพอเราเห็นพ่อแม่พี่น้องคนอื่น เราเชื่อเลยว่าเขาเหนื่อยกว่าเรา หนักกว่าเราเยอะมาก เงินร้อยกว่าบาท มันเป็นเรื่องใหญ่มากสำหรับคนไทยในตอนนี้ ณ ตอนนี้เหมือนลงทะเลที่เจอคลื่นแล้ว มันไปบ่นไม่ได้แล้ว มีทางเดียวต้องข้ามคลื่นแต่ละลูกไปให้ได้ จนกว่าพายุจะสงบ ก็จะเจอน้ำเรียบ ถ้าท้อจะไม่ทันคนอื่น”

ยังไม่ถึงขั้นคิดจะขายทิ้งเลย? เปิ้ล : “เคยคิด แรกๆ แวบแรกเลยคือปิดกิจการเลย พอแล้วไม่ทำร้านอาหารแล้ว เจอวันแรกช็อก ขายได้วันละพันกว่าบาท มีลูกน้อง 50 กว่าคน แล้วยอดขายพันกว่าบาทเลยช็อก ตัดสินใจจะปิดร้าน พอไปนอนคิดได้คืนเดียว กลับมาคิดอีกที อาชีพอื่น อสังหา นักบิน หลายคนกลับมาทำร้านอาหารทั้งนั้น ทั้งที่ทำไม่เป็น แล้วเราทำมาเป็นสิบกว่าปี เราจะหนีทำไม ในเมื่อนี่คืออาชีพที่ถนัดด้วย

ก็เลยเลิกคิดที่จะหนี ตอนนี้มีทางเดียวคือสู้ แล้วก็สนุกไปกับมัน ต้องคิดทุกวัน วันนี้เดลิเวอรี่จะคิดเมนูอะไร จะรับ-ส่ง ยังไง จะมี drive thru ไหม ขับรถมาจอดหน้าร้านไม่ต้องลงมาแล้วก็โทรเข้ามาสั่งจะเอาอะไร พอของได้แล้วก็โทรไปบอก ค่อยขับรถมา แล้วเอื้อมหยิบของบนโต๊ะกลับ ต่างคนก็ต่างไม่โดนกัน มี Social Distancing เกิดขึ้น ความปลอดภัยก็เกิดขึ้น

เราก็คิดๆว่าจะมีวิธีไหนอีก แล้วก็คิดอีกว่า ทำยังไงให้คนได้กินเหมือนอยู่ร้านด้วย ยังสดอยู่ ดีอยู่ คุณภาพ รวมถึงปริมาณด้วย กลับบ้านไปแล้วแฮปปี้ ได้กินก๋วยเตี๋ยวเรือชาบู กับครอบครัว แล้วสนุกสนานกับการกิน เหมือนกินที่ร้าน

เราจะทำยังไงให้เขามีความรู้สึกเหล่านี้ ก็นอนคิดทุกวัน บางวันตี 3 จูนหันมาเห็นพี่เปิ้ลยังกดโทรศัพท์อยู่ นึกว่าส่องไอจีดูบิกินี่ เช้ามาถึงได้เห็นว่า พี่เปิ้ลส่งงานตอนตี 3 ว่าเนื้อต้องแบบนี้นะ กุ้งต้องเอาแบบนี้นะ เราทำงานแบบนั้น ตี 3,4,5 ทำงานตลอด”

พอมาเป็นเดลิเวอรี่ยังมีความเครียดอยู่ไหม? จูน : “ตัวจูนมีความรู้สึกแต่ไม่อยากเครียด เพราะเป็นคนแบ่งความรู้สึกไม่ได้เท่าพี่เปิ้ล เพราะจูนรับผิดชอบหลายอย่าง ไหนจะเรื่องลูกอีก ก็คิดกับตัวเองว่าต้องผ่านไปให้ได้ เพราะถ้ามัวแต่เครียดเรื่องนี้ เรื่องอื่นจะพันกันไปด้วย”

เปิ้ล : “คือธุรกิจของครอบครัวเรามีหลายอย่าง ไหนจะร้านอาหาร รวมถึงจูจูเน่ ความสวยความงาม อาหารเสริม ที่กำลังคิดโปรเจ็กต์ใหม่ออกมาเรื่อยๆ ทุกวันนี้จูนยังต้องไลฟ์ขายของ เป็นแม่ค้าออนไลน์ ขายอาหารเสร็จก็ต้องไปไลฟ์ขายของบิวตี้อีก

เกาะติดข่าว กดติดตามข่าวสด
เพิ่มเพื่อน

แล้วก็ยังมีธุรกิจภาพยนตร์ที่กำลังจะฉายเร็วๆนี้ หนังวางแผนจะออกเดือนหน้า ลงทุนไปตั้งหลายสิบล้าน คือมันทำให้เราคิดว่ามันต้องเลื่อนอีกไหม เพราะเลื่อนมารอบหนึ่งแล้ว ครั้งนี้ต้องเลื่อนอีกเปล่า มันจะยังไง เพราะทั้งหมดมันเป็นการลงทุนหมดเลย เงินมันก็ไปจมอยู่ตรงนั้น “
จูน : “ถามว่าเครียดมั้ย มันก็เครียด ถ้ามันยังทำอะไรไม่ได้ จูนก็ต้องวางไปก่อน เอาหน้างานที่อยู่ข้างหน้าก่อน เอาลูกก่อน แล้วค่อยมาดูงานเก่า เราต้องแบ่งตัวเองให้ได้ เพราะว่าไม่งั้นมันจะพัง แล้วก็รวนไปหมดเลย”

เปิ้ล : “วิธีการปราบความเครียดของเราตอนนี้คือ ถึงเวลาอยู่กับลูก จะพาลูกไปอยู่ภูเขาล่ะ ไปอยู่แม่น้ำ สนามหญ้า เล่นกับลูก พาลูกว่ายน้ำ ออกกำลัง มันก็เป็นสิ่งหนึ่งที่เราคลายเครียดจากสิ่งเหล่านี้ได้ พอกลับมาถึงก็ต้องอยู่กับมือถือแล้ว ทำงานอีกแล้ว ซึ่งทำตลอดเวลา”

แพลนขยายร้านก็ยังมีอยู่? เปิ้ล : “มีตลอด ไม่หยุด สินค้าใหม่ก็ยังมีตลอด บอกเลยว่าไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์หนักหนาแค่ไหน สิ่งที่เราวางแผนไว้ก็ยังเดินตามนั้นทุกวัน เราหยุดไม่ได้ ถ้าเราหยุดเท่ากับเราถอยหลังไปอยู่เส้นสตาร์ต เหมือนเวลาวิ่งมาราธอน คนไปออเส้นสตาร์ตทำไม ก็เพราะอยากอยู่ข้างหน้า เพราะฉะนั้นเมื่อไหร่ที่คุณอยู่หลังสุด พอเขาสตาร์ตแล้ว คุณก็จะวิ่งอยู่หลังสุด

กว่าจะขึ้นไปข้างหน้าได้ก็ลำบาก เพราะงั้นหน้าที่ของเราตอนนี้ก็คือเตรียมตัวให้ดีที่สุด เพื่อที่จะไปอยู่ด้านหน้าเส้นสตาร์ตให้ได้มากที่สุด พอถึงเวลาฟ้าสว่าง เราก็สามารถออกวิ่งได้เลย”

ดูเหมือนมีแต่รายจ่ายมีรายรับไหม ? เปิ้ล : “รายรับมีอยู่นะ เวลาจูนไลฟ์ขายของก็ได้อยู่”
จูน : “แล้วก็ของๆเรา จูจูเน่ และอาหารเสริม ก็ยังมีวางขายตามเซเว่น บิ๊กซี โลตัส ท็อป ยังมีช่องทางการวางขายปกติอยู่ ซึ่งก็ได้รับการตอบรับที่ดีอยู่”

ทำร้านอาหารขาดทุนไปเท่าไหร่ เงินจมไปแค่ไหน? เปิ้ล : “ร้านอาหารใช้ทุนเป็น 10 ล้าน ถามว่าได้คืนตอนนี้มั้ย ไม่ได้แน่ๆอยู่แล้ว มีทางเดียวคือ อย่าทำให้ขาดทุนในแต่ละเดือน เพราะฉะนั้นถึงได้บอกว่าถ้าไม่ขายเลย ก็จะไม่เกิดรายจ่าย หมายถึงเราก็ไม่ต้องซื้อต้นทุนอาหารมาขาย แต่มันก็อาจจะมีเงินเดือนของพนักงาน

ถ้าเราปิดไปเลย ไม่รับผิดชอบเลย ต่างคนต่างไปไม่ทำแล้ว เงินเดือนไม่ต้องจ่าย เนื้อหมูไม่ต้องซื้อมา จบ ไม่มีรายจ่าย แต่ ณ ตอนนี้เราก็ทิ้งน้องพนักงานไม่ได้ ก็ต้องมีรายจ่ายตรงนี้อยู่ เพราะฉะนั้นก็ต้องมีรายรับจากการขายอาหาร ทำเดลิเวอรี่เพื่อพนักงานในร้านเลย เพราะว่ายังไงก็ไม่ได้กำไรไม่ถึงตัวเราอยู่แล้ว แต่เราภาวนาขอแค่คนสั่งเดลิเวอรี่เราเยอะๆ เพื่อได้เงินมาเลี้ยงพนักงานเกือบร้อยคนให้พอก็พอแล้ว”

ตอนที่ทำร้านคาดไว้ว่าจะคืนทุนได้เมื่อไหร่ ถ้าไม่มีโควิด? เปิ้ล : “ถ้าไม่มีโควิดก็คงไม่นานก็คืนทุนอยู่แล้ว เพราะมันก็ขายได้ มันอร่อย คนกินเยอะนะ กำลังดีใจมากๆ ร้านเราคนเต็มไปได้สวยเลย ภูมิใจมาก เนื้อก็ดี พนักงานก็ดี ทุกอย่างภูมิใจมากๆเลย

จูน : “แต่ไม่เป็นไร เราเริ่มใหม่ได้”

ปิดร้านครั้งนี้เพื่อแสดงความรับผิดชอบในช่วงโควิด? เปิ้ล : “ใช่ ถึงเวลาน้ำท่วมเราก็ไปช่วย พอมาถึงเหตุการณ์แบบนี้อย่างน้อยเราก็ช่วยคนไว้สักร้อยคนก็ถือว่าเราน่าจะมีส่วนร่วมที่จะได้ช่วยประเทศสักครั้งหนึ่งด้วย”

ในฐานะที่เป็นหนึ่งในผู้ประกอบการร้านอาหารที่ได้รับผลกระทบ อยากให้ภาครัฐมีมาตรการเยียวยาอย่างไรบ้าง? เปิ้ล : “ขอเป็นตัวแทนคนไทยทั้งประเทศที่เป็นคนทำมาค้าขายทุกสาขา ไม่ว่าจะอาชีพใดก็ตาม เราก็เข้าใจว่าทางรัฐบาลตระหนักทุกหน่วยงานคิดทุกวิถีทางที่จะช่วยคนไทยให้รอดพ้นไปจากวิกฤตนี้ให้ได้มากที่สุด เราแค่อยากจะให้เขาช่วยคนที่ลำบากที่สุดก่อน เอาตรงๆครอบครัวเรายังพอดูแลร้อยคนได้ แต่อีกหลายล้านคนให้รัฐบาลงไปดูแลเขาให้มากกว่านี้ มีนโยบายต่างๆ เงินเจียดไปให้เขาเร็วกว่านี้ และให้ครบทุกคนมากกว่านี้

เพราะว่าบางคนจะรออีกตั้งเดือนหนึ่ง จะไปยืมใครมาอีกก็มีปัญหานอกระบบอีก ก็อยากจะให้ทำให้เร็วที่สุด รู้ว่าทางผู้ใหญ่เหนื่อยกันทุกคน ที่สำคัญพ่อแม่พี่น้องทุกคนเองก็ต้องอย่าไปท้อ ต้องหาทางช่วยเหลือตัวเองในทุกๆทางเหมือนกัน ทำอะไรได้ทำไปก่อน ช่วยตัวเองได้ช่วยตัวเองให้เต็มที่ไปก่อน เราก็ไม่มีความรู้พอที่จะไปขอผู้ใหญ่ให้ได้ยังไง คนที่รับผิดชอบทางด้านเศรษฐกิจน่าจะมีไอเดียมีทางออกที่ดีกว่าเราเยอะมากที่เตรียมไว้แล้ว”

ถ้าสถานการณ์ยังไม่คลี่คลายในเร็วๆนี้ คาดว่าจะแบกรับภาระดูแลลูกน้องได้กี่เดือน?
คิดว่าตัวเองน่าจะแบกรับลูกน้องร่วมร้อยคนได้ในหนึ่งเดือนน่าจะได้อยู่ แต่ถ้า 2 เดือน รัฐบาลครับช่วยอะไรเรามากกว่านี้ได้มั้ย คนละครึ่งเขาก็ทำไปแล้ว คนละครึ่งหรือไม่คนละครึ่ง ขอเร็วๆหน่อย เอาเร็วๆและเอาให้ครบด้วย เอาให้ตรงๆกันด้วย พอตรงกันปุ๊บประชาชนก็จะไม่เป๋”

ดูข่าวต้นฉบับ

ที่มา : https://www.khaosod.co.th/entertainment/news_5695558
ขอขอบคุณ : https://www.khaosod.co.th/entertainment/news_5695558